“ไท้ส่วยเอี้ย” หรือที่รู้จักกันดีในนามของ เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา เป็นเทพผู้ทรงสิทธิ์ และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในแต่ละปี
อีกทั้งเป็นเคล็ดลับของซินแสจีนโบราณที่ยึดหลักการคำนวณและผูกดวงจีนโป๊ยหยี่ สี่เถี่ยว โดยมาจากราศีบน (เทียงกัง – ราศีฟ้า) 10 ตัว ผสมกับราศีล่าง (ตี่กี่ – ราศีดิน) หรือ 12 นักษัตร ซึ่งจับคู่กันได้ 60 คู่ เรียกว่า “หลักจับกะจื้อ” โดยใน 60 ปี จะเวียนมาบรรจบครบทำให้ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีนั้นจะทำแซยิด ถือว่าได้ใช้ชีวิตครบรอบของหลักจับกะจื้อแล้ว
ใน 60 ปีนี้จะมีเทพประจำอยู่ในแต่ละปีรวมทั้งสิ้น 60 องค์มีชื่อต่างๆ กัน ทำหน้าที่รักษาหรือเรียกว่า เฝ้าปี ซึ่งจะมีอำนาจให้คุณและโทษกับผู้ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับปีนั้นๆ
ไท้ แปลว่า ใหญ่กว่า หรือ กว่า
ส่วย แปลว่า วัย หรือ อายุ
เอี้ย แปลว่า เทพเจ้า หรือ คนที่มีอำนาจบารมี
ปี 2554 เป็นปีกระต่ายไม้ (ราศี 辛/卯 ธาตุนับอิมคือไม้) ชาวจีนมีประเพณีในการไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ยโดยเฉพาะคนที่มีดวงชะตาตกต่ำหรือชง
วิธีแก้ไขดวงชะตาจะมีการทำพิธีนำซึ้งปักเต๋าเก็งหรือพิธีสวดมนต์เสริมดวงชะตา
สำหรับผู้ไม่ชงก็สามารถทำได้เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข
คุณประโยชน์สำหรับการไหว้องค์ไท้ส่วยนั้น จะทำให้ผู้ที่กราบไหว้ทำอะไรราบรื่นไม่ติดขัด หากดวงดีอยู่แล้วก็จะส่งผลให้ดียิ่งขึ้น
แต่ถ้าดวงตกก็จะไม่ย่ำแย่มาก โดยเฉพาะคนที่เกิดปีที่มีปัญหากับองค์ไท้ส่วยแต่ละปีจะแตกต่างกันไป
แต่ละปีจะมีปีชง (ปะทะ คือ ไปรบกวนบารมีของเทพเจ้าไท่ส่วย) กึ่งชง ปีห่วม (ห่วมไท้ส่วย คือ มีปีเกิดปีเดียวกันกับไท้ส่วย เป็นการกระทบบารมีของไท้ส่วย) ของตัวเอง อยู่ 4 นักษัตร ที่กำหนดไว้ว่าต้องไปไหว้ (เขียนเทียบ) ฝากไว้กับไท้สวยเอี้ย
ปีชวด คือ มะเมีย , เถาะ , ระกา , ชวด
ปีฉลู คือ มะแม , มะโรง , จอ , ฉลู
ปีขาล คือ วอก , มะเส็ง , กุน , ขาล
ปีเถาะ คือ ระกา , มะเมีย , ชวด , เถาะ
ปีมะโรง คือ จอ , มะแม , ฉลู , มะโรง
ปีมะเส็ง คือ กุน , วอก , ขาล , มะเส็ง
ปีมะเมีย คือ ชวด , ระกา , เถาะ , มะเมีย
ปีมะแม คือ ฉลู , จอ , มะโรง , มะแม
ปีวอก คือ ขาล , กุน , มะเส็ง , วอก
ปีระกา คือ เถาะ , ชวด , มะเมีย , ระกา
ปีจอ คือ มะโรง , ฉลู , มะแม , จอ
ปีกุน คือ มะเส็ง , ขาล , วอก , กุน
ตามธรรมเนียมจีนการไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยจะเริ่มต้นไหว้กันตั้งแต่วันที่ 9 ค่ำเดือน 1 ถึงวันที่ 15 ค่ำเดือน 1 ของจีน ในกรณีบางคนที่ไม่สะดวกก็สามารถไหว้เทพเจ้าไท่ส่วยก่อน หรือ หลังช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้
การไหว้จะนิยมไปทำกันที่ศาลเจ้า เช่น ที่วัดเล่งเน่ยยี่ ทั้ง 2 แห่งคือ ถนนเจริญกรุง และบางบัวทอง หรือวัดจีนในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดได้ทุกๆ ที่
วันที่ 9 – 15 ค่ำเดือน 1 (จีน) ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ถึง วันพฤหัสที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554
ของไหว้องค์ไท้ส่วย มีดังนี้
1. แจกับดอกไม้สด 1 คู่
2. เทียนแดง 1 คู่
3. ธูป 3 ดอก
4. หงิ่งเตี่ย 13 ชุด
5. เทียงเถ่าจี้ 1 คู่
6. กิมหงิ่งเต้า 1 คู่
7. อาหารเจ 5 อย่าง (เช่น เห็นหอม, เห็นหูหนู, จำไฉ่ – ดอกไม้จีน, วุ้นเส้น, ฟองเต้นหู้ยี้)
8. ถั่วลิสง 25 เม็ด
9. พุทราแดง (อั่งจ้อ) 25 เม็ด
10. ขนมโก๋ 5 ชิ้น
11. น้ำชา 5 ถ้วย
12. ข้าวสวย 5 ถ้วย