การเกิดฤดูกาล

ฤดูกาล (เวลา) เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงรี (เกือบกลม) มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน และโลกหมุนรอบตัวเอง โดยมีแกนหมุนของโลกเอียงประมาณ 23.5 องศา กับแกนการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (ในอดีตคนโบราณ เชื่อว่าดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกไปตามขอบโค้งของฟ้า เรียกว่า สุริยวิถี หรือ สุริยยาตร์) โดยจะหันซีกโลกด้านเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 มิถุนายน ถือว่าอยู่ในฤดูร้อน หันซีกโลกด้านใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 ธันวาคม ถือว่าอยู่ในฤดูหนาว และหันซีกโลกด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ ในวันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน ถือว่าอยู่ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงตามลำดับ ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก ฤดูกาลจะไม่แตกต่างกันมากนัก

ปรากฏการณ์นี้นับจากวันที่โลกมาอยู่ตรงบริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า เป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ มีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน เมื่อโลกโคจรกับมาถึงจุดเดิมอีกครั้ง เรียกว่า หนึ่งรอบปี (ปีฤดูกาล) มีระยะเวลาเฉลี่ย 365.242 วัน (365.25 วัน) แบ่งออกเป็น 4 ฤดูกาล ฤดูกาลละ 3 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 30 วัน

ชาวจีนมีการแบ่งฤดูกาล (สารทใหญ่) , เดือน (สารทเดือน) และปักษ์ (สารทเล็ก) มีราศีล่าง (นักษัตร) และชื่อสารทเล็กดังต่อไปนี้

feng shui season

ปฏิทินฤดูกาลที่ถูกกำหนดโดยภูมิโหราศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางดินฟ้าอากาศ กำหนดวิถีการดำเนินชีวิต เริ่มตั้งแต่ การเพาะปลูก การดำนา การหว่าง การไหว้ฟ้าดิน (อาทิตย์) การไหว้บรรพบุรุษ การสีข้าว การเก็บเกี่ยว การไหว้สารทกลางปี การไหว้พระจันทร์ การกินเจ การถือศีล การขอบคุณเทพเจ้า ฯลฯ

แบ่งฤดูกาลออกเป็น 4 ฤดูกาล คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ในแต่ละฤดูแบ่งออกเป็น 3 เดือน (สารทเดือน) ในแต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 2 สารทเล็ก (หรือปักษ์) ใน 1 สารทเล็ก (1 ปักษ์) มีจำนวน 15 วัน หรือมากกว่า (คิดตามจันทรคติเปรียบเทียบกับสุริยคติสัมพันธ์กัน)

feng shui season